12 ข้อควรทำก่อนซื้อแฟรนไชส์
คำแนะนำจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญในโลกแห่งแฟรนไชส์;
- Ed Teixeira อดีตแฟรนไชส์เซอร์และแฟรนไชส์ซี และเจ้าของหนังสือ “คู่มือผู้ซื้อแฟรนไชส์”
- Josh Brown ทนายความที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ
- Sean Kelly อดีตผู้บริหารที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแฟรนไชส์ Auntie Anne’s เจ้าของเว็บไซต์ Unhappy Franchisee
1. ทดสอบบุคลิกภาพตัวเอง “ทหารผ่านศึกจะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ถ้าพวกเขาอยากเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะทหารคุ้นเคยกับการปฏิบัติตามกฎและการดำเนินการที่เป็นระบบและมีการควบคุมอย่างเข้ม งวด”- บราวน์กล่าว หากคุณเป็นคนครีเอทีฟ ชอบคิดค้นเมนูใหม่ ๆ จับนู่นผสมนี่ หรือชอบทำอาหารโดยไม่ใช้สูตร คุณไม่เหมาะกับการเป็นแฟรนไชส์ซี
2. ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน คุณทราบหรือไม่ว่าแฟรนไชส์ซีจำนวนมากต้องใช้จ่ายงบประมาณในการโฆษณาตามจำนวนที่กำหนดไว้ตามข้อตกลง ซึ่งไม่สามารถที่จะการควบคุมว่าจะใช้จ่ายเงินโฆษณาเหล่านั้นเท่าไหร่หรืออย่างไร ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจประเภทไหน การหาและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เป็นสิ่งแรก ๆ ที่คุณควรทำ ทุกวันนี้เราสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่น่าสนใจมากมายบนโลกออนไลน์
3. ประเมินจุดแข็งของตัวเอง ลองขอให้เพื่อนและครอบครัวช่วยประเมินว่าบุคลิกภาพของคุณตรงกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณกำลังสนใจมากน้อยเพียงใด ธุรกิจบางประเภทจำเป็นต้องมีการโทรหาลูกค้าเพื่อเสนอสินค้าอยู่เสมอ คุณรู้สึกอย่างไรถ้าคุณต้องโทรหาลูกค้าเพื่อขายของ? หากคุณอยากเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหาร คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการบริการและการจัดการอาหาร?
4. นับเงินของคุณ ในการซื้อแฟรนไชส์ซึ่งโดยปกติจะมีการระบุชัดเจนเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าอุปกรณ์เริ่มต้น แต่คุณอาจจะต้องรอซักระยะกว่าที่ร้านของคุณจะเป็นที่รู้จักและเริ่มทำกำไร คุณจึงควรมีเงินทุนที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายทางธุรกิจประมาณ 6 เดือน และค่าครองชีพเป็นเวลา 1 ปี
5. ระวังที่ปรึกษาแฟรนไชส์! ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นพนักงานขายที่ได้รับค่าตอบแทน ทำให้พวกเขามีความต้องการที่จะให้คุณลงนามในข้อตกลงโดยเร็วที่สุด เพื่อตนเองจะได้รับค่าคอมมิชชั่น แทนที่จะให้คำแนะนำและให้เวลาในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจเซ็นสัญญา
6. อย่าเชื่อ “ คำโกหกของแฟรนไชส์” เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมีโอกาสล้มเหลวเพียง 5% ของเวลาเท่านั้น มันไม่จริง! ธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสล้มเหลวในอัตราใกล้เคียงกับธุรกิจอื่น ๆ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
อ่าน : วิเคราะห์มาให้ 5 แฟรนไชส์ “ของกิน” มาแรงซื้อใจนักลงทุน!
7. ขุดให้ถึงแก่น! ใช้ประโยชน์ของโลก World Wide Web ในการค้นหาข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับแฟรนไชส์ที่คุณกำลังพิจารณา เพราะเราควรรู้ตื้น ลึก หนา บางในธุรกิจที่เราอยากลงทุนไม่ใช่แต่เพียงข้อดีที่เขาบอมาเท่านั้น
8. พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีเจ้าอื่น พูดคุยและสอบถามแฟรนไชส์ซีเจ้าอื่นอย่างน้อย 10 รายเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายแอบแฝง พวกเขาใช้เวลานานแค่ไหนในการทำกำไร? อะไรคือส่วนที่ยากที่สุดในการสร้างธุรกิจ สำนักงานใหญ่ให้การสนับสนุนแค่ไหน? การจ้างพนักงานที่ดีนั้นท้าทายแค่ไหน?
9. ค้นหาเอกสารการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน เช่นข้อมูลการยื่นล้มละลาย ข้อมูลการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแฟรนไชส์ซอร์ และ/หรือผู้บริหารและค่าใช้จ่ายที่อาจไม่ชัดเจน
10. พิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อใหคำปรึกษาก่อนลงทุน หากคุณมีความรู้ด้านบัญชีและกฎหมายคุณอาจไม่จำเป็นต้องมีนักบัญชี ตัวแทนประกันและทนายความ “เพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง ควรมีทนายความเพื่อตรวจดูเอกสารและอธิบายความหมายด้านกฎหมาย และให้ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินทำการตรวจสอบทางการเงินและผลกระทบจากการซื้อแฟรนไชส์ก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญา” – บรานว์กล่าว
11. สำรวจการทำงานในร้านค้ารุ่นพี่ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณสนใจทำงานอย่างไรและบุคลิกภาพของคุณเข้ากับวัฒนธรรมของบริษัทหรือไม่
12. ทำการวิเคราะห์ต้นทุน/ผลประโยชน์ของแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ ตาราง “ข้อดี-ข้อเสีย” อาจดูล้าสมัยแต่เป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ยุ่งยากอะไร เพียงลากเส้นกั้นกลางกระดาษแล้วเขียนลากเส้นตรงกลางแผ่นกระดาษ ด้านหนึ่งเขียนประโยชน์ที่คุณจะได้รับเช่น แบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับในตลาด, มีการฝึกอบรมที่ดี, มีแนวทางการรับพนักงานที่เป็นระบบม มีบบริการออกแบบร้าน เป็นต้น อีกด้านหนึ่งให้เขียนงรายการค่าใช้จ่าย, ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์, เงินที่คุณต้องจ่ายสำหรับค่าทำการตลาด แล้ววิเคราะห์ความคุ้มค่าระหว่าง 2 แบรนด์
ที่มา: Forbes