ประเมินสถานการณ์
ประเมินทั้งจากปัจจัยภายในธุรกิจและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในเช่น ทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจ เช่น ต้นทุนคงที่ คนทำงาน และสาขาที่ยังเปิดได้ เงินทุนสำรอง กระแสเงินสดหมุนเวียนในธุรกิจ และปัจจัยภายนอกเช่นเทรนด์การบริโภค หรือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ละธุรกิจมีปัจจัยเหล่านี้ต่างกัน คุณที่เป็นเจ้าของกิจการต้องมองภาพออกว่าธุรกิจของคุณอยู่ในจุดใด และมีปัญหาใดเพื่อเห็นแนวทางและวิธีการแก้ไข
ตอบโต้
ทำการปรับเปลี่ยนการบริการ-การขาย ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นใจ ความสะดวกสบาย และกระแสการพูดต่อทางโซเชียลเพื่อให้แบรนด์ยังไปต่อได้ ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย ในขั้นตอนนี้แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องจับมือ ช่วยเหลือกันเพื่อให้แบรนด์สามารถอยู่ต่อได้ เพราะใช้ชื่อเดียวกันเขาอยู่รอด เราก็ไปต่อได้ด้วยแนวทางดังกล่าวสามารถทำได้หลายอย่าง เช่นการเพิ่มบริการแบบเดลิเวอรี่ การออกไลน์สินค้าแบบใหม่ที่คาดไม่ถึง สร้างแคมเปญเป็นกระแสในโลกออนไลน์ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนที่อยู่บ้านอยู่กับโลกออนไลน์มากขึ้น หรือแม้แต่การออกแบบแพคเกจสินค้าให้มีความสะอาด ปลอดภัยนั่นเอง
วางแผนอนาคต
เมื่อปรับปรุง เปลี่ยนรูปแบบการบริการ-การขายจนเข้าที่เข้าทาง มียอดขายเป็นที่น่าพอใจแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการวางแผนเตรียมรับมือหลังภาวะวิกฤต ซึ่งในที่นี้หมายถึง “New Normal” สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากภาวะโควิด-19 เมื่อคนเริ่มออกจากบ้าน กลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม แต่ยังต้อง “เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย และยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังกันอยู่” นั่นทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอีกครั้ง การตัดสินใจซื้อสินค้า-บริการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องความสะอาดเป็นหลัก และอาจจะต้องรับมือกับคนล้นร้าน เพราะผู้บริโภคอยากออกมาสังสรรค์ หรือแม้กระทั่งการวางมาตรการเพื่อเลี่ยงความแออัด ไม่ให้ร้านของเรากลายเป็นจุดแพร่ระบาดของเชื้อโรคอีกด้วย สิ่งที่จะต้องวางคำนึงถึงในภาวะดังกล่าวคือความรวดเร็วของบริการ และลดความแออัดของคนที่เข้าร้านไปในเวลาเดียวกัน
ถือว่าเป็นโรดแมปที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกวิกฤติที่เข้ามาเลยก็ว่าได้ และสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการปรับในทุกวิกฤตินั่นคือความรวดเร็ว ประเมินเร็ว ตอบโต้เร็ว สังเกตผลแบบรายวัน ปรับเปลี่ยนตามผลอย่างรวดเร็วก็จะได้ใจลูกค้าในช่วงนั้นแน่นอน