วิเคราะห์มาให้ 5 แฟรนไชส์ “ของกิน” มาแรงซื้อใจนักลงทุน!

วิเคราะห์มาให้ 5 แฟรนไชส์ “ของกิน” มาแรงซื้อใจนักลงทุน!

ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดที่ยังไม่คลี่คลายดี ทำให้เทรนด์การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ปี 2564 นี้ ยังคงคล้ายกับปี 2563 นักลงทุนจะมองหาธุรกิจที่ต้นทุนน้อย คืนทุนไว ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในหมวด อาหารและเครื่องดื่มที่ถือเป็นของจำเป็น ยังคงเป็นเทรนด์ฮิตที่นักลงทุนสนใจนั่นเองนอกจากนี้ ปัจจัยที่ให้การลงทุนในแฟรนไชส์ร้านอาหารน่าสนใจคือธุรกิจประเภทของกินและเครื่องดื่ม มีแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารถส่ง Delivery ได้ในหลายพื้นที่ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและช่วยตัดปัญหาเรื่องทำเลการขายไปได้มาก รวมทั้งสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้เวลาในโลกออนไลน์และออกจากบ้านน้อยลงจากช่วงโควิด โดยแฟรนไชส์ที่สามารถดึงดูดและซื้อใจนักลงทุนในปี 2564 นี้ มีอยู่ 5 แบบ

1️⃣ ร้านกาแฟสด ขนาดเล็กเพราะกาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตและ Segment ในการลงทุนแบ่งได้หลากหลายกลุ่ม หลายระดับ โดยร้านกาแฟขนาดเล็กน่าสนใจในแง่ลงทุนน้อย ขยายการลงทุนง่าย และมีโอกาสเติบโตได้มาก นักลงทุนส่วนใหญ่จึงมองว่ามีความปลอดภัยที่จะลงทุน

2️⃣ ร้านเครื่องดื่มชงรสชาติโบราณ
วิธีมองเครื่องดื่มประเภทกาแฟของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากกาแฟ = เครื่องดื่ม กลายเป็นกาแฟ = สิ่งที่ใช้บ่งบอกตัวตนและรสนิยม ผสมด้วยความโหยหาอดีต ร้านกาแฟในกลุ่มเครื่องดื่มรสชาติโบราณแต่ตกแต่งหน้าตาให้สวยงามทันสมัยน่าโพสต์อวดในโซเชียลมีเดียจึงได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟโบราณที่ตกแต่งอย่างทันสมัยมีความน่าสนใจทั้งในกลุ่มนักลงทุน และคนที่ต้องการมีกิจการของตัวเอง

3️⃣ ร้านข้าวมันไก่
เมนูกินง่าย ใครๆ ก็รู้จัก ราคาต่อจานไม่แพงมาก เครื่องปรุงและกระบวนการทำไม่ซับซ้อน เหตุผลทั้งหมดนี้ทำให้ข้าวมันไก่กลายเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนไม่น้อย

4️⃣ ร้านขนมโตเกียว
จากเทรนด์การกินของหวานที่ชวนหวนนึกถึงอดีต ทำให้แฟรนไชส์ร้านขนมโตเกียวมาเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่อยากเปิดร้านของว่างแบบ Street Food ไม่น้อย ด้วยต้นทุนหลักพัน – หมื่นไม่สูงมาก ขายง่าย กินได้ทุกเพศทุกวัย ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมาก

5️⃣ ร้านลูกชิ้นปลาระเบิด
หนึ่งในแฟรนไชส์ของว่างที่ลงทุนน้อย กำหนดต้นทุนและคำนวนกำไรได้ง่าย ขายง่าย กินง่าย จึงถือว่าธุรกิจแบบนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่สนใจกันมากเลยทีเดียว

Recent Posts

วิธีสร้างคู่มือการดำเนินงานสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์

ความท้าทายของการขยายธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์คือการคงไว้ซึ่งมาตรฐานในการให้บริการและคุณภาพของสินค้า แฟรนไชส์จำเป็นต้องมีวิธีการทำธุรกิจแบบองค์กรกลาง มีโครงสร้างและโปรโตคอลที่อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยรักษาความสม่ำเสมอ ให้ธุรกิจดำเนินงานไปสู่เป้าหมายในการให้บริการที่เป็นเลิศ ซึ่งจะทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จและเติบโตได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด คู่มือการดำเนินงานแฟรนไชส์เป็นเอกสารสำคัญสำหรับแฟรนไชส์ทุกประเภทและพนักงานทุกคน ช่วยสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี อีกทั้งยังเป็นเป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานที่สำคัญ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทีมงานทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามกฎที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์และคุณภาพของแบรนด์ สิ่งสำคัญที่ควรมีในคู่มือการดำเนินงานคู่มือควรมีประวัติของบริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของบริษัท ขั้นตอนในการจัดตั้งแฟรนไชส์ใหม่ หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในทุกตำแหน่ง ทัศนคติในการทำงานที่คุณต้องการปลูกฝัง จรรยาบรรณของบริษัท รวมถึงพันธกิจที่พนักงานทุกคนควรทำความคุ้นเคยเพื่อการปฏิบัติงานที่ราบลื่น มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและไม่มีปัญหาในด้านกฎหมาย ในคำอธิบายโครงสร้างบริษัทและขั้นตอนการจัดตั้งที่ตั้งแฟรนไชส์ใหม่ ควรอธิบายอย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี รวมถึงวิธีการติดต่อสื่อสารและส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันการอบรมพนักงานในขั้นตอนของการทำสื่อต่างๆ ในการฝึกอบรมควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย อธิบายทุกสิ่งที่พนักงานจำเป็นต้องรู้เพื่อให้งานของพวกเขามีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดได้มากที่สุด

Read More »