12 ข้อควรทำก่อนซื้อแฟรนไชส์
คำแนะนำจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญในโลกแห่งแฟรนไชส์;
- Ed Teixeira อดีตแฟรนไชส์เซอร์และแฟรนไชส์ซี และเจ้าของหนังสือ “คู่มือผู้ซื้อแฟรนไชส์”
- Josh Brown ทนายความที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ
- Sean Kelly อดีตผู้บริหารที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแฟรนไชส์ Auntie Anne’s เจ้าของเว็บไซต์ Unhappy Franchisee
1. ทดสอบบุคลิกภาพตัวเอง “ทหารผ่านศึกจะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ถ้าพวกเขาอยากเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะทหารคุ้นเคยกับการปฏิบัติตามกฎและการดำเนินการที่เป็นระบบและมีการควบคุมอย่างเข้ม งวด”- บราวน์กล่าว หากคุณเป็นคนครีเอทีฟ ชอบคิดค้นเมนูใหม่ ๆ จับนู่นผสมนี่ หรือชอบทำอาหารโดยไม่ใช้สูตร คุณไม่เหมาะกับการเป็นแฟรนไชส์ซี
2. ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน คุณทราบหรือไม่ว่าแฟรนไชส์ซีจำนวนมากต้องใช้จ่ายงบประมาณในการโฆษณาตามจำนวนที่กำหนดไว้ตามข้อตกลง ซึ่งไม่สามารถที่จะการควบคุมว่าจะใช้จ่ายเงินโฆษณาเหล่านั้นเท่าไหร่หรืออย่างไร ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจประเภทไหน การหาและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เป็นสิ่งแรก ๆ ที่คุณควรทำ ทุกวันนี้เราสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่น่าสนใจมากมายบนโลกออนไลน์
3. ประเมินจุดแข็งของตัวเอง ลองขอให้เพื่อนและครอบครัวช่วยประเมินว่าบุคลิกภาพของคุณตรงกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณกำลังสนใจมากน้อยเพียงใด ธุรกิจบางประเภทจำเป็นต้องมีการโทรหาลูกค้าเพื่อเสนอสินค้าอยู่เสมอ คุณรู้สึกอย่างไรถ้าคุณต้องโทรหาลูกค้าเพื่อขายของ? หากคุณอยากเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหาร คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการบริการและการจัดการอาหาร?
4. นับเงินของคุณ ในการซื้อแฟรนไชส์ซึ่งโดยปกติจะมีการระบุชัดเจนเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าอุปกรณ์เริ่มต้น แต่คุณอาจจะต้องรอซักระยะกว่าที่ร้านของคุณจะเป็นที่รู้จักและเริ่มทำกำไร คุณจึงควรมีเงินทุนที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายทางธุรกิจประมาณ 6 เดือน และค่าครองชีพเป็นเวลา 1 ปี
5. ระวังที่ปรึกษาแฟรนไชส์! ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นพนักงานขายที่ได้รับค่าตอบแทน ทำให้พวกเขามีความต้องการที่จะให้คุณลงนามในข้อตกลงโดยเร็วที่สุด เพื่อตนเองจะได้รับค่าคอมมิชชั่น แทนที่จะให้คำแนะนำและให้เวลาในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจเซ็นสัญญา
6. อย่าเชื่อ “ คำโกหกของแฟรนไชส์” เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมีโอกาสล้มเหลวเพียง 5% ของเวลาเท่านั้น มันไม่จริง! ธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสล้มเหลวในอัตราใกล้เคียงกับธุรกิจอื่น ๆ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
อ่าน : วิเคราะห์มาให้ 5 แฟรนไชส์ “ของกิน” มาแรงซื้อใจนักลงทุน!
7. ขุดให้ถึงแก่น! ใช้ประโยชน์ของโลก World Wide Web ในการค้นหาข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับแฟรนไชส์ที่คุณกำลังพิจารณา เพราะเราควรรู้ตื้น ลึก หนา บางในธุรกิจที่เราอยากลงทุนไม่ใช่แต่เพียงข้อดีที่เขาบอมาเท่านั้น
8. พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีเจ้าอื่น พูดคุยและสอบถามแฟรนไชส์ซีเจ้าอื่นอย่างน้อย 10 รายเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายแอบแฝง พวกเขาใช้เวลานานแค่ไหนในการทำกำไร? อะไรคือส่วนที่ยากที่สุดในการสร้างธุรกิจ สำนักงานใหญ่ให้การสนับสนุนแค่ไหน? การจ้างพนักงานที่ดีนั้นท้าทายแค่ไหน?
9. ค้นหาเอกสารการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน เช่นข้อมูลการยื่นล้มละลาย ข้อมูลการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแฟรนไชส์ซอร์ และ/หรือผู้บริหารและค่าใช้จ่ายที่อาจไม่ชัดเจน
10. พิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อใหคำปรึกษาก่อนลงทุน หากคุณมีความรู้ด้านบัญชีและกฎหมายคุณอาจไม่จำเป็นต้องมีนักบัญชี ตัวแทนประกันและทนายความ “เพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง ควรมีทนายความเพื่อตรวจดูเอกสารและอธิบายความหมายด้านกฎหมาย และให้ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินทำการตรวจสอบทางการเงินและผลกระทบจากการซื้อแฟรนไชส์ก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญา” – บรานว์กล่าว
11. สำรวจการทำงานในร้านค้ารุ่นพี่ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณสนใจทำงานอย่างไรและบุคลิกภาพของคุณเข้ากับวัฒนธรรมของบริษัทหรือไม่
12. ทำการวิเคราะห์ต้นทุน/ผลประโยชน์ของแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ ตาราง “ข้อดี-ข้อเสีย” อาจดูล้าสมัยแต่เป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ยุ่งยากอะไร เพียงลากเส้นกั้นกลางกระดาษแล้วเขียนลากเส้นตรงกลางแผ่นกระดาษ ด้านหนึ่งเขียนประโยชน์ที่คุณจะได้รับเช่น แบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับในตลาด, มีการฝึกอบรมที่ดี, มีแนวทางการรับพนักงานที่เป็นระบบม มีบบริการออกแบบร้าน เป็นต้น อีกด้านหนึ่งให้เขียนงรายการค่าใช้จ่าย, ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์, เงินที่คุณต้องจ่ายสำหรับค่าทำการตลาด แล้ววิเคราะห์ความคุ้มค่าระหว่าง 2 แบรนด์
ที่มา: Forbes
Recent Posts

วิธีสร้างคู่มือการดำเนินงานสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์
ความท้าทายของการขยายธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์คือการคงไว้ซึ่งมาตรฐานในการให้บริการและคุณภาพของสินค้า แฟรนไชส์จำเป็นต้องมีวิธีการทำธุรกิจแบบองค์กรกลาง มีโครงสร้างและโปรโตคอลที่อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยรักษาความสม่ำเสมอ ให้ธุรกิจดำเนินงานไปสู่เป้าหมายในการให้บริการที่เป็นเลิศ ซึ่งจะทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จและเติบโตได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด คู่มือการดำเนินงานแฟรนไชส์เป็นเอกสารสำคัญสำหรับแฟรนไชส์ทุกประเภทและพนักงานทุกคน ช่วยสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี อีกทั้งยังเป็นเป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานที่สำคัญ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทีมงานทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามกฎที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์และคุณภาพของแบรนด์ สิ่งสำคัญที่ควรมีในคู่มือการดำเนินงานคู่มือควรมีประวัติของบริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของบริษัท ขั้นตอนในการจัดตั้งแฟรนไชส์ใหม่ หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในทุกตำแหน่ง ทัศนคติในการทำงานที่คุณต้องการปลูกฝัง จรรยาบรรณของบริษัท รวมถึงพันธกิจที่พนักงานทุกคนควรทำความคุ้นเคยเพื่อการปฏิบัติงานที่ราบลื่น มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและไม่มีปัญหาในด้านกฎหมาย ในคำอธิบายโครงสร้างบริษัทและขั้นตอนการจัดตั้งที่ตั้งแฟรนไชส์ใหม่ ควรอธิบายอย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี รวมถึงวิธีการติดต่อสื่อสารและส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันการอบรมพนักงานในขั้นตอนของการทำสื่อต่างๆ ในการฝึกอบรมควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย อธิบายทุกสิ่งที่พนักงานจำเป็นต้องรู้เพื่อให้งานของพวกเขามีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดได้มากที่สุด

ONE BANGKOK ACHIEVES THAILAND’S FIRST PLATINUM WIREDSCORE CERTIFICATION FOR BEST-IN-CLASS DIGITAL CONNECTIVITY
One Bangkok, the largest holistically integrated district in the heart of Bangkok, has become the country’s first real estate project to obtain the Platinum WiredScore

Time to become your own boss. Pre-registration for TFBO 2023 open!
Are you looking for a new investmentopportunity with high returns?Do you want to be your own boss?What kind of franchise is best for your lifestyle?